ข่าวประชาสัมพันธ์

Informa to Take Sustainable Plastic to Another Step with Driving Sustainability by DIGITALIZING in 'Plastic and Rubber Thailand 2023'

วันที่: 24 May 2023


“อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย” รับมือเทรนด์รักษ์โลก ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทย ยกระดับการพัฒนาสู่ความยังยื่น - ลดคาร์บอนเครดิตเป็นศูนย์ เปิดเวที “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023” ลุยข้อตกลง “ลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย” ด้าน มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ ชูซอฟต์แวร์ SCADA GENESIS64™ คำนวนค่าภาษีคาร์บอนเรียลไทม์ ตัวช่วยผู้ประกอบการไทย ก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอนในอนาคต พบกันในงานฯ ระหว่างวันที่ 10—13พฤษภาคม 2566ณ ไบเทค บางนา

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทยผู้นำด้านการจัดงานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของโลก จัดงานแสดงสินค้าที่มีชื่อเสียงมากกว่า 450 งาน ใน 30 ประเทศ และนำพาผู้ซื้อและผู้ขายกว่า 15 อุตสาหกรรมทั่วโลกได้มาพบปะเจรจาธุรกิจ ในฐานะผู้จัดงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023”ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาสู่ความยั่งยืน” เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทย ถือเป็นอุตสาหกรรมหลัก และมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งบนเวทีโลก ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกวัตถุดิบประเภทพลาสติกและยาง อันดับต้น ๆ ของโลก โดยส่งออกไปในกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ นอกจากนั้น ไทย ยังเป็นฐานการผลิตสินค้าประเภทพลาสติกและยางในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าในครัวเรือน รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้เอง และส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา จีน และในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ภายใต้ความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมพลาสติกและยางไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกที่มีศักยภาพ ประเทศไทย ยังจำเป็นจะต้องตระหนักถึงการพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดรับและตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก หรือ นโยบายเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงมากขึ้นในปัจจุบัน และเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ เช่น การคิดคำนวนมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต Carbon footprint นำไปสู่การคำนวนภาษีคาร์บอน Carbon tax เป็นต้น

นายสรรชาย กล่าวว่า ทั่วโลกมีการพูดถึงการผลิตที่ปรับลดคาร์บอนมากขึ้น โดยเฉพาะ ยุโปร อเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของไทย ทางผู้ประกอบการไทย จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับมาตรการทางการค้านอกเหนือจากประเทศไทย ไทยจะต้องพัฒนาขีดความสามารถ และก้าวให้ทันกับความต้องการของตลาดโลก เราต้องตอบโจทย์เทรนด์ตลาดโลกให้ได้ ดังนั้น งาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023” จึงเป็นส่วนหนึ่งให้ผู้ประกอบการได้ร่วมมือกันกับภาครัฐในการทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย (Decarbonization of Plastic products in Thailand) ว่าด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโต และความร่วมมือในการเป็น Production Showcaseซึ่งจะจัดแสดงครั้งแรกภายในงานนี้ด้วย เช่น โปรแกรมซอฟต์แวร์คำนวณภาษีคาร์บอน, Plastic Taxเป็นต้น

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวถึงการทำข้อตกลงดังกล่าว ว่า มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ จะเป็นผู้ดำเนินการดึงข้อมูลจากเครื่องจักรและสาธรณูปโภค เพื่อเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ จากนั้นคำนวนคาร์บอนฟุตปริ้น (Carbon Footprint) ออกมาในแต่ละผลิตภัณฑ์แบบ Real-Time โดยนำเสนอผ่านแพลตฟอร์ม SCADA GENESIS64™ ซอฟต์แวร์คำนวณค่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดึงรายงานการใช้พลังงานในแต่ละผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างสะดวก ไม่ต้องบันทึกข้อมูลเองด้วยการจดบันทึก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการประเมินและจัดสรรการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความร่วมมือครั้งนี้ สอดรับกับนโยบายของบริษัทฯ ที่ต้องการผลักดันและร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ระบบ 4.0 ด้วยทีมงานวิศวกรที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างดีจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อต้องการสนับสนุนและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้มีความทันสมัยเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน รวมถึง ลดต้นทุนการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มโอกาสและความสามารถทางการแข่งขันได้ในตลาดโลก ยกระดับเป็นโรงงานอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด e-F@ctory ซึ่ง SCADA GENESIS64™คือถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือของมิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการไทย ก้าวข้ามกับดักภาษีคาร์บอนในอนาคต

คุณไกรศรี ภัณฑ์กิจนิรันดร ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส แผนกลยุทธ์และความยั่งยืน สังกัด กลยุทธ์ แผน และพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และตัวแทนจาก Plastket.comกล่าวว่า PLASTKET.COM ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ออกบูธแสดงนวัตกรรม Plastic E-Commerce Platform เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุนในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยนำเสนอโซลูชั่น ระบบโรงงานอัตโนมัติ e-Factory ของบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด บน platform PLASTKET.COM

พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ประกอบการพลาสติกหันมาใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกรักษ์โลกที่สามารถคำนวณคาร์บอนเครดิตได้ ทั้งประเภท Post-Industrial Recycled Resin (PIR) และ Post-Consumer Recycled Resin (PCR) ที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ด้วยคุณภาพมาตรและฐานระดับโลก นอกจากนั้นแล้ว PLASTKET.COM ยังนำเสนอสินค้าลดคาร์บอนอื่นๆ อาทิ ระบบหลังคาโซลาร์ (solar rooftop) และวัสดุเคลือบพื้นผิวภายนอกอาคารเพื่อสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ (ceramic coating)

กิจกรรมครั้งนี้เป็นความร่วมมือต่อเนื่องที่ PLASTKET.COM และบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และสถาบันพลาสติก จัดโครงการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมพลาสติกไทย (Decarbonization of Plastic products in Thailand) ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา

ขณะที่ นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการ สถาบันพลาสติก กล่าวว่า สถาบันพลาสติกมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเติบของอุตสาหกรรมพลาสติกอย่างยั่งยืน ปัญหาการปล่อยคาร์บอนเป็นปัญหาระดับโลกของทุกอุตสาหกรรมรวมถึงอุตสาหกรรมพลาสติก ด้วยภาระกิจของสถาบันฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการ สถาบันพลาสติกจึงได้ส่งเสริมภาคเอกชนในการลดการปล่อยคาร์บอน ด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการใช้พลังงาน ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการเสียหายจากการผลิต และการส่งเสริมการใช้พลาสติกรีไซเคิล ( PCR) ที่มีการปลดปล่อยปริมาณคาร์บอนน้อยกว่าเม็ดพลาสติกผลิตใหม่ ตลอดจนเสนอทางเลือกในการใช้พลาสติกชีวภาพที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตที่น้อยกว่า

ดร.ปวีณา พาณิชยพิเชฐ ผู้จัดการ สำนักรับรองคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. หรือ TGO เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ด้วยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดพัฒนาที่ยั่งยืนควบคู่กัน อบก. เป็นหน่วยงาน ที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ สร้างองค์ความรู้และเครือข่ายในกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและการจัดการของเสียจากการผลิต

ผู้เข้าชมงานสามารถติดตามรายละเอียดของฟังชั่นอื่น ๆ ที่มีประโยชน์กับผู้ประกอบการของ SCADA GENESIS64™ที่ยังมีอีกจำนวนมาก ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่านการสัมมนา Driving Sustainability by DIGITALIZING for Plastics Industry ในงาน “พลาสติกแอนด์รับเบอร์ ไทยแลนด์ 2023: Plastic & Rubber Thailand 2023” จัดร่วมกับงานอินเตอร์แมค งานแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีและเครื่องจักรเพื่อการผลิต และงานซับคอน ไทยแลนด์ ระหว่างวันที่ 10 — 13 พฤษภาคม 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าฟังฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางลิงก์ : https://bit.ly/MELFT-INTERMACH2023หรือ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.plasticrubberthailand.com

Back